พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต - ภาคใต้

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89-%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99

มีแนวคิดอยู่ทั้งหมด 5 อย่าง ได้แก่

  1. เตาถ่าน โดยใช้เศษกิ่งยางพารา ไม้ผล ทำเป็นถ่าน และได้น้ำส้มควันไม้
  2. โครงการแก้มลิง พระองค์ท่านเปรียบเทียบว่า ลิงเมื่อเขากินผลไม้หรือกล้วย เขาจะเก็บตุนไว้ที่แก้ม แล้วค่อยๆเอาออกมากินทีละน้อย เปรียบเหมือนโครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก หรือคลองซอยต่างๆ เป็นแหล่งระบายน้ำ และใช้เมื่อเข้าฤดูแล้ง

ถามว่า ทำไมมาทำที่โซนภาคใต้

คำตอบ เพราะพระองค์ไปทำโครงการที่ จ.สงขลา และ จ.ชุมพร แก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้จนประสบ ความสำเร็จ

  1. การพัฒนาแหล่งทำนาข้าว “ลุ่มน้ำปากพนัง” จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเดิมลุ่มน้ำปากพนัง เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของภาคใต้ ต่อมามีการทำลายป่าชายเลน การใช้สารเคมี การเลี้ยงกุ้ง ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยน ดินเปรี้ยว ทำนาไม่ได้ผล ดังนั้นพระองค์จึงลงไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว เพื่อพลิกฟื้นลุ่มน้ำปากพนังให้กลับมาทำนาได้อีก โดยใช้ทฤษฎีแกล้งดิน คือการปล่อยน้ำเข้านาแล้วกักน้ำไว้ เสร็จแล้วสูบน้ำออกจากนาให้หมด ปล่อยให้ดินแห้งแล้วสูบน้ำเข้านาอีก แล้วก็ปล่อยเช่นเดิม ทำหลายๆ ครั้ง เพื่อแกล้งให้ดินเปรี้ยวสุดขีด แล้วล้างความเปรี้ยวโดยใช้น้ำ หรือใช้ปูนขาว หรือใช้น้ำสลับด้วยการใส่ปูนขาว
  2. การปั้นอิฐจากดินในท้องถิ่น เป็นการนำเอาทรัพยากรในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีส่วนผสมคือ ดิน 3 ส่วน ซีเมนต์ 1 ส่วน และน้ำพอประมาณ
  3. การทำน้ำมันไบโอดีเซล จากน้ำมันพืช โดยกำหนดเป็นโซนปลูกพืชน้ำมัน ซึ่งต่อไปจะจัดตั้งเป็นฐานงานผลิตไบโอดีเซล
%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a5

น้ำมันไบโอดีเซล