ภาคเหนือ แสดงแนวคิดและทฤษฎีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งแสดงแนวคิดไว้ทั้งหมด ๕ แนวคิดด้วยกัน
แนวคิดที่ ๑. ป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ เป็นแนวคิดการพัฒนาควบคู่กันระหว่างการอนุรักษ์และฟั้นฟูทรัยพยากรป่าไม้และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนบุกรุกและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดยส่งเสริมให้มีปลูกป่าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเรียกแนวคิดนี้ว่า “ปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง” ป่าอย่างที่๑ ป่าไม้ใช้สอย เป็นป่าที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น สร้างที่อยู่อาศัย ป่าอย่างที่ ๒ ป่าไม้ผล เป็นป่าป่าปลูกเพื่อบริโภค ป่าอย่างที่ ๓ ป่าไม้พลังงาน เช่นไม้โตเร็ว ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือไม้ที่นำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน เมื่อปลูกป่าทั้ง ๓ อย่างแล้ว จะได้ประโยชน์อย่างที่๔ เป็นของแถมคือการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ
แนวคิดที่ ๒ หญ้าแฝก พืชในพระราชดำริ “กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนชีวิตสู่ธรรมชาติ” หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดินเอาไว้ อีกทั้งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย วิธีการปลูกก็ใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ เกษตรกรสามารปลูกได้ด้วยตนเอง จึงถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งที่พระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก
แนวคิดที่ ๓ ป่าเปียกกันไฟ แนวคิดพระราชดำริ เป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวกันไฟ เป็นการคิดที่ทรงตระหนักถึงคุณค่าว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้นจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้หากรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น พระราชดำริ “ป่าเปียก” เพื่อป้องกันไฟไหม้ ซึ่งเป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการแสนง่ายแต่ได้ประโยชน์มหาศาล ซึ่งวิธีการป่าเปียกมีด้วยกัน ๖ วิธีการ
วิธีการที่ ๑ ทำระบบป้องกันไฟไม้ป่า โดยทำแนวคลองส่งน้ำและ แนวพืช ชนิดต่าง ๆ ปลูกตามแนวคลอง
วิธีการที่ ๒ สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทานและน้ำฝน
วิธีการที่ ๓ โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อย ๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกทั้งสองด้านของร่องน้ำ
วิธีการที่ ๔ โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น
วิธีการที่ ๕ การสูบน้ำไปในระดับสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วค่อย ๆ ปล่อยน้ำลงมา เรียกว่า “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็น “ป่าเปียกที่สามารถป้องกันไฟป่าได้”
วิธีการที่ ๖ ปลูกต้นกล้วยเป็นแนวกันไฟ
แนวคิดที่ ๔ ฝายชะลอความชุ่มชื้น โดยการสร้างฝายกั้นน้ำที่เรียกว่าฝายชะลอความชุ่มชื้นเพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วนโดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ดินแผ่ความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าและสรรพสิ่ง
แนวคิดที่ ๕ ปลูกป่าในใจคน เป็นพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ที่จังหวัดเชียงใหม่ความว่า “เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาด้นไม้เหล่านั้นด้วยคนเอง”